ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายจารึก ศรีอ่อน รองประธานคณะกรรมาธิการ ป.ป.ช.พร้อมคณะ ได้เดินทางไปยังโรงโม่หิน สัมปทาน เพื่อตรวจสอบพื้นที่จริง พร้อมร่วมรับฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการ และขั้นตอนการทำสัมปทานผลิต และจำหน่ายหินของกองทัพเรือ สืบเนื่องมาจาก คณะกรรมาธิการฯ ได้รับเรื่องร้องเรียนว่า มีการเอื้อประโยชน์ให้เอกชนรายหนึ่งทำเหมืองแร่ดังกล่าว ทั้งที่บริษัทไม่มีความรู้ ความสามารถในการทำเหมือง ,บริษัทฯไม่มีเครื่องจักรในการผลิตหิน , บริษัทฯ ขาดดุลติดหนี้ค่าปรับกองทัพเรือกรณีผิดสัญญา, สุดท้ายได้มีการกล่าวหาว่าบริษัทฯทุจริต ลักลอบขโมยมูลดินออกไปด้านนอกเหมือง ซึ่งทาง กมธ.ป.ป.ช.ได้เชิญผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทั้งฝ่ายทหาร และเอกชน มาสอบข้อเท็จจริง พร้อมเอกสารมายืนยัน ปรากฏว่า เรื่องที่ร้องเรียนทั้งหมดไม่เป็นความจริง แต่เรื่องสุดท้ายการทุจริตดิน เป็นประเด็นที่ คณะ กมธ.ป.ป.ช.เกิดความสงสัย จึงได้มีการตรวจสอบพบมูลเหตุเรื่องการจำหน่ายดินของกองทัพเรือ ไม่เคยนำส่งรายได้เข้าสวัสดิการ และกระทำความผิดเรื่องวินัยการเงิน และการคลัง ซึ่งทางด้านสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินก็ให้ความเห็นแล้วว่า การทำเหมืองแร่และขอเวลาการรวบรวมข้อ มูลในการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ในระยะเวลา30วัน
ซึ่งในภารกิจของกองทัพ และผิดมาตรา 75 รัฐพึงจัดระบบเศรษฐกิจให้ประชาชนมีโอกาสได้รับประโยชน์จากความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปพร้อมกันอย่างทั่วถึงอย่างเป็นธรรมฯ หรือรัฐต้องไม่ประกอบกิจการที่มีลักษณะแข่งขันกับเอกชน อีกทั้งยังระบุว่า กองทัพเรือทำผิดวินัยการการเงิน การคลัง จึงพิจารณาให้กองทัพเรือยกเลิกกิจการหิน พร้อมชดใช้คู่กรณี ที่เป็นเอกชนโดยใช้เงินจากกองทุนสวัสดิการภายในของกองทัพเรือ อีกทั้งต้องฟื้นฟู ปรับภูมิทัศน์ในพื้นที่เหมืองให้คงเดิม อีกด้วย
นายจารึก ศรีอ่อน รองประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้กล่าวว่า การลงพื้นที่มาตรวจสอบข้อเท็จจริงภายในเหมืองแร่ หรือ โรงโม่หิน สัมปทานกองทัพเรือ ในวันนี้นั้น เพราะได้รับมอบหมายจากท่าน พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ประธาน กมธ.ป.ป.ช.ให้ลงพื้นที่จริง เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด โดยย้อนอดีตตั้งแต่เริ่มกิจการว่าใช้อะไรเป็นกฎ กติกาในการประกอบกิจการนี้ของกองทัพเรือ เพราะจากการตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีที่มีผู้ร้องเรียน โดยได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ป่าไม้ กรมธนารักษ์ กรมอุตสาหกรรม สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน มาให้ข้อคิดเห็นแนวทางปฏิบัติของโรงโม่หิน สัมปทานกองทัพเรือ และข้อกฎหมาย เรียบร้อยแล้ว และระบุว่า ไม่ใช่ภารกิจของกองทัพเรือในการประกอบกิจการหิน แข่งกับเอกชน ตามมาตรา 75 อีกทั้งยังตรวจพบว่า จากการทำเหมืองจะต้องขุดหน้าดินออกก่อนถึงพื้นหิน ดินที่ขุดออกไปขายตั้งแต่ปี 2553 ไม่พบว่ามีการนำส่งเงินเข้าในระบบสวัสดิการแต่อย่างใด
Cr: ส.ปชส.ระยอง