หน่วยงานประมงในจังหวัดจันทบุรี ร่วมบูรณาการภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน เปิดปฏิบัติการล่าปลาหมอคางดำแบบบูรณาการครั้งที่ 2 "ลงแขก ลงคลอง"

รูปข่าว : ไขข้อข้องใจ วางแผน "แหกคุก" มีความผิดหรือไม่

ที่บริเวณด้านหน้าอาคารแสดงพันธุ์สัตว์เฉลิมพระเกียรติอ่าวคุ้งกระเบน (aquarium) นายวิสุทธิ์ ประกอบความดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรี เป็นประธานเปิดกิจกรรม "ลงแขก ลงคลอง" เปิดปฏิบัติการล่าปลาหมอคางดำ โดยมี นายศักดินัย นุ่มหนู สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดตราด นายสมพร รุ่งกำเนิดวงศ์ ประมงจังหวัดจันทบุรี พร้อมด้วย หน่วยงานประมงในจังหวัดจันทบุรี ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่ายภาคประชาชน และทีมล่าปลาหมอคางดำเข้าร่วมกิจกรรม

นางสาวอินทิรา มานะกุล ประธานเครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดจันทบุรี ระบุว่ จังหวัดจันทบุรีได้เปิดปฏิบัติการล่าปลาหมอคางดำครั้งที่ 2 โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการควบคุมการระบาดที่รุนแรงในพื้นที่สำคัญอย่างอ่าวคุ้งกระเบนและคลองชลประทาน โดยการปฏิบัติการครั้งนี้ถือเป็นการร่วมมืออย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานหลายภาคส่วน ทั้งสำนักงานประมงจังหวัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน มหาวิทยาลัยบูรพา รวมถึงเกษตรกรในพื้นที่ / ซึ่งที่ผ่านมา สามารถจับปลาหมอคางดำได้ในปริมาณที่น่าพอใจ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำพังราดและเขตช้างข้าม โดยพบว่า เครื่องมือที่เหมาะตามบริบทของแต่ละพื้นที่ เช่น การใช้อวนลอยและอวนล้อม ทำให้การปฏิบัติการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ด้านนายสมพร รุ่งกำเนิดวงศ์ ประมงจังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า กรมประมงได้เปิดปฏิบัติการครั้งที่ 2 ในพื้นที่อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี โดยมุ่งเน้นการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์น้ำพื้นถิ่น ปฏิบัติการนี้แบ่งออกเป็นสามทีม ได้แก่ การจับปลาที่อ่าวคุ้งกระเบน, การสำรวจคลองชลประทาน, และการติดตามผลในบ่อเลี้ยงกุ้งทะเล ผลการปฏิบัติการครั้งแรกที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา พบว่ามีการจับปลาหมอคางดำได้ประมาณ 3 กิโลกรัม และปลาชนิดอื่น ๆ ได้ประมาณ 30 กว่ากิโลกรัม ซึ่งยังคงแสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของสัตว์น้ำในพื้นที่

และการดำเนินการครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากชาวประมงพื้นบ้าน ซึ่งเป็นกลุ่มสำคัญในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ โดยมีการเน้นย้ำถึงความสำคัญของการตรวจสอบพันธุ์สัตว์น้ำที่ปล่อยลงในธรรมชาติ เพื่อลดความเสี่ยงจากการนำสัตว์น้ำที่ไม่ใช่พันธุ์พื้นถิ่นเข้ามาทำลายสมดุลทางธรรมชาติ ปัญหาการแพร่กระจายของปลาหมอคางดำและปลาชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ได้รับการควบคุม ถูกชี้ว่าอาจเกิดจากการเคลื่อนย้ายโดยมนุษย์ ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่สูงกว่าในธรรมชาติ / ปัจจุบันกรมประมงยังเรียกร้องให้มีมาตรการที่เข้มงวดและการตรวจสอบก่อนการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อปกป้องความหลากหลายทางชีวภาพในทะเลไทย

#NBTจันทบุรี #NBTภาคกลาง #ข่าวช่อง11 #NBTCentral11

แท็ก